วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556



สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาฬสินธุ์
พระพุทธไสยาสน์ภูค่าว PHRA BUDDHA SAIYAT PHUKHAO

พระพุทธไสยาสน์ภูค่าว บ้านนาสีนวล ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ (ห่างจากจังหวัดประมาณ 36 กม.) มีสิ่งสำคัญได้แก่
พระพุทธไสยาสน์ ที่นาแปลกคือตะแคงซ้าย ไม่มีพระเกตุมาลา สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช 2235 อุโบสถสร้างด้วยไม้ใต้น้ำจากอ่างเก็บน้ำ
ลำปาว มีลักษณะเปิดโล่งระเบียงปูด้วยศิลาแลง ซึ่งแกะสลักลวดลายไทยเป็นสามมิติศิลปผสมผสานระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง
อย่างกลมกลืน นอกจากนี้ยังมีวิหารสังฆนิมิตซึ่งเป็นที่เก็บพระพุทธรูปและพระเครื่องเรือนแสน





เขื่อนลำปาว LUMPAO DAM

เขื่อนลำปาว เป็นเขื่อนดิน สร้างปิดกั้นลำน้ำปาวและห้วยยางที่ต่อเนื่องถึงกันบริเวณเขตติอต่อระหว่างตำบลลำปาว อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี และตำบลเว่อ อำเภอยางตลาด ความยาวตามสันเขื่อน 7.9 ก.ม. ความสูงของเขื่อนตรงส่วนที่สูงที่สุด 30.7 เมตร สันเขื่อน กว้าง 8 เมตร ฐานเขื่อนตอนที่กว้างที่สุด 125 เมตร เก็บกัก น้ำ ได้ 430 ล้านลูกบาศก์เมตร ในเนื้อที่ประมาณ 5,960 ตารางกิโลเมตร โครงการลำปาวเป็นโครงการชลประทาน เพื่อการเกษตรและบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำปาวและน้ำชี ทดส่งและระบายน้ำในคลองซอยต่าง ๆ บริเวรใต้เขื่อนให้ประชาชนในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด และอำเภอกมลาไสย ได้ทำการเพาะปลูกในเนื้อที่ประมาณ 338,000 ไร่นอกจากนี้ทะเลสาบเหนือเขื่อน ยังเป็นแหล่งเพราะพันธุ์ปลานานาชนิด ประชาชนที่อยู่เหนือเขื่อนซึ่งถูกน้ำท่วมไร่นา ก็จะ หันมาประกอบอาชีพในการจับปลาเพื่อเพิ่มพูนฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว นับว่าเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ประหนึ่งเป็นสายโลหิตชองชาวกาฬสินธุ์ทีเดียว





พิพิธภัณฑ์สิรินทร SIRINTORN MUSEUM

ตั้งอยู่ที่เชิงภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ สามารถเดินทางโดยใช้เส้นทางกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ (ทางหลวง 227) ประมาณ 28
กิโลเมตร (ก่อนถึงสหัสขันธ์ 2 กิโลเมตร) มีทางแยกขวาไปวัดสักวันอีก 1 กิโลเมตร วัดนี้เป็นสถานที่ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์จำนวนมาก
โดยซากกระดูกบางส่วนได้นำมาจัดแสดงที่ศาลาวัด มีการจัดนิทรรศการแสดงความเป็นมาของบการเกิดไดโนเสาร์ยุคต่างๆ รวมทั้ง
รูปภาพการขุดค้นพบซากกระดูกเหล่านี้ นอกจากนั้น ห่างจากศาลาวัดไปประมาณ 100 เมตร มีโครงกระดูกไดโนเสาร์ฝังอยู่ในพื้นดิน
บริเวณเชิงเขา ได้รับการขุดแต่งโดยเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณีเป็นซากกระดูกไดโนเสาร์ชนิดซอโรพอต ประมาณ 7 ตัว ซึ่งอยู่ในยุค
ครีเทเชียส อายุประมาณ 130 ล้านปี และในพิพิธภัณฑ์ฯยังมีซากปลาโบราณพันธุ์ใหม่ของโลกซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด
มีชื่อว่า"เลปิโดเทส" มีความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตรอยู่ในยุคมีโซโซอิก หรือ65 ล้านปีที่แล้วซึ่งเป็นช่วงเดียวกับไดโนเสาร์ คาดว่า
บริเวณที่พบคงเป็นบึงขนาดใหญ่และเกิดภัยแล้งทำให้ปลาตายและซากถูกโคลนทับไว้กลายเป็นฟอสซิลจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ภายใน
บริเวณเดียวกันยังมีวัดสักกะวัน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อบันดาลฤทธิผล (หลวงพ่อบ้านด่าน) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยทวารวดี ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง













วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ห้นักเรียนสร้างบทความในบล็อก เรื่อง การละเล่นพื้นบ้าน หรือ การละเล่นไทย มาคนละ 3 อย่าง ตกแต่งให้สวยงาม




           ยุคนี้เป็นยุคแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารไปแล้วจริง ๆ เพราะไม่ว่ามองไปทางไหน ก็จะเห็นเด็กตัวเล็กตัวน้อย แชทบีบี ทวิตเตอร์ ฟังไอพอด เปิดคอมพิวเตอร์เล่นเกม เล่นเฟซบุ๊ก กันอย่างสนุกสนานซะแล้ว เรียกว่า ใช้เวลาอยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวันทั้งคืน จนอาจทำให้เด็กรุ่นใหม่ ๆ ไม่เคยรู้จักและได้ยินการละเล่นพื้นบ้านของไทยไปเลยก็มี หรือหากใครที่รู้จัก และเคยเล่นการละเล่นพื้นบ้านมาแล้ว

           วันนี้กระปุกดอทคอมจะชวนกันมาย้อนอดีตไปในวัยเด็ก ขอรื้อฟื้นความสนุกสนานกับ 10 การละเล่นพื้นบ้าน ที่หลายคนอาจจะหลงลืมไปแล้ว


เล่นซ่อนหา หรือ โป้งแปะ

           "เล่นซ่อนหา" หรือ "โป้งแปะ" เป็นหนึ่งในการละเล่นพื้นบ้านที่มีมาช้านาน และยังได้รับความนิยมอยู่ทุกยุคทุกสมัย เพราะกติกาง่าย แถมสนุก และต้องมีการกำหนดอาณาเขต เพื่อไม่ให้กว้างจนเกินไป จนถึงวันนี้ก็ยังมีเด็ก ๆ จับกลุ่มกันเล่นซ่อนหาให้เห็นกันอยู่

           โดยกติกาก็คือ คนที่เป็น "ผู้หา" ต้องปิดตา และให้เพื่อน ๆ ไปหลบหาที่ซ่อน โดยอาจจะนับเลขก็ได้ ส่วน "ผู้ซ่อน" ในสมัยก่อนจะต้องร้องว่า "ปิดตาไม่มิด สาระพิษเข้าตา พ่อแม่ทำนาได้ข้าวเม็ดเดียว" แล้วแยกย้ายกันไปซ่อน เมื่อ "ผู้หา" คาดคะเนว่าทุกคนซ่อนตัวหมดแล้ว จะร้องถามว่า "เอาหรือยัง" ซึ่งเมื่อ "ผู้ซ่อน" ตอบว่า "เอาล่ะ" "ผู้หา" ก็จะเปิดตาและหาเพื่อน ๆ ตามจุดต่าง ๆ เมื่อหาพบจะพูดว่า "โป้ง..(ตามด้วยชื่อผู้ที่พบ)" ซึ่งสามารถ "โป้ง" คนที่เห็นในระยะไกลได้ จากนั้น "ผู้หา" จะหาไปเรื่อย ๆ จนครบ ผู้ที่ถูกหาพบคนแรกจะต้องมาเปลี่ยนมาเป็น "ผู้หา" แทน แต่หากใครซ่อนเก่ง "ผู้หา" หาอย่างไรก็ไม่เจอสักที "ผู้ซ่อน" คนที่ยังไม่ถูกพบสามารถเข้ามาแตะตัว "ผู้หา" พร้อมกับร้องว่า "แปะ" เพื่อให้ "ผู้หา" เป็นต่ออีกรอบหนึ่งได้

           ประโยชน์จากการเล่นซ่อนหา ก็คือ ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต สามารถจับทิศทางของเสียงได้ รวมทั้งรู้จักประเมินสถานที่ซ่อนตัว จึงฝึกความรอบคอบได้อีกทาง นอกจากนี้ยังทำให้ผู้เล่นสนุกสนาน อารมณ์แจ่มใจเบิกบานไปด้วย


หมากเก็บ

           การละเล่นยอดฮิตสำหรับเด็กผู้หญิงนั่นเอง ปกติจะใช้ผู้เล่น 2-4 คน และใช้ก้อนกรวดกลม ๆ 5 ก้อนเป็นอุปกรณ์

           กติกาก็คือ ต้องมีการเสี่ยงทายว่าใครจะได้เล่นก่อน โดยใช้วิธี "ขึ้นร้าน" คือแบมือถือหมากทั้ง 5 เม็ดไว้ แล้วโยนหมาก ก่อนจะหงายมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับหมากอีกที ใครมีหมากอยู่บนมือมากที่สุด คนนั้นจะได้เป็นผู้เล่นก่อน

           จากนั้นจะแบ่งการเล่นเป็น 5 หมาก โดยหมากที่ 1 ทอดหมากให้อยู่ห่าง ๆ กัน แล้วเลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ก่อนจะไล่เก็บหมากที่เหลือ โดยการโยนเม็ดนำขึ้น พร้อมเก็บหมากครั้งละเม็ด และต้องรับลูกที่โยนขึ้นให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" หรือถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นก็ถือว่า "ตาย" เช่นกัน

           ในหมากที่ 2 ก็ใช้วิธีการเดียวกัน แต่เก็บทีละ 2 เม็ด เช่นเดียวกับหมากที่ 3 ใช้เก็บทีละ 3 เม็ด ส่วนหมากที่ 4 จะไม่ทอดหมาก แต่จะใช้ "โปะ" คือถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้น แล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้ "ขึ้นร้าน" ได้กี่เม็ดถือเป็นแต้มของผู้เล่นคนนั้น ถ้าไม่ได้ถือว่า "ตาย" แล้วให้คนอื่นเล่นต่อไป โดย "ตาย" หมากไหนก็เริ่มที่หมากนั้น ปกติการเล่นหมากเก็บจะกำหนดไว้ที่ 50-100 แต้ม ดังนั้นเมื่อแต้มใกล้ครบ เวลาขึ้นร้านต้องระวังไม่ให้แต้มเกิน ถ้าเกินต้องเริ่มต้นใหม่

           อย่างไรก็ตาม ปกติแล้ว "หมากเก็บ" มีวิธีเล่นหลายอย่าง แต่ละอย่างก็จะมีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น หมากพวง , หมากจุ๊บ ,อีกาเข้ารัง



รีรีข้าวสาร

           เชื่อเลยว่า ชีวิตในวัยเด็กของคนส่วนใหญ่ผ่านการละเล่น "รีรีข้าวสาร" มาแล้ว และยังร้องบทร้องคุ้นหูที่ว่า "รีรี ข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว" ได้ด้วย

           กติกา รีรีข้าวสาร ก็คือ ต้องมีผู้เล่น 2 คนหันหน้าเข้าหากัน และเอามือประสานกันไว้เป็นรูปซุ้ม ส่วนผู้เล่นคนอื่น ๆ จะกี่คนก็ได้จะยืนเกาะเอวกันไว้ตามลำดับ หัวแถวจะพาขบวนลอดซุ้มพร้อมร้องเพลง "รีรีข้าวสาร" จนเมื่อถึงประโยคที่ว่า "คอยพานคนข้างหลังไว้" ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันไม่ให้คนสุดท้ายผ่านเข้าไป เรียกว่า "คัดคน" และเล่นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนคนหมด

           ประโยชน์ของการเล่นรีรีข้าวสาร ก็คือ ช่วยให้จิตใจร่าเริงแจ่มใส รู้จักมีไหวพริบ ใช้กลยุทธ์ให้ตัวเองเอาตัวรอดจากการถูกคล้องไว้ได้ รวมทั้งฝึกให้เด็กทำงานเป็นกลุ่มได้ด้วย



มอญซ่อนผ้า

           การละเล่นแสนสนุกที่ทำให้ผู้เล่นได้ลุ้นไปด้วย โดยใช้อุปกรณ์เพียงแค่ผ้าผืนเดียวเท่านั้น แล้วให้ผู้เล่นเสี่ยงทาย ใครแพ้คนนั้นต้องเป็น "มอญ" ส่วนคนอื่น ๆ มานั่งล้อมวง คนที่เป็น "มอญ" จะต้องถือผ้าไว้ในมือแล้วเดินวนอยู่นอกวง จากนั้นคนนั่งในวงจะร้องเพลงว่า "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ"

           ระหว่างเพลงร้องอยู่ คนที่เป็น "มอญ" จะแอบทิ้งผ้าไว้ข้างหลังผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง แต่เมื่อทิ้งผ้าแล้ว จะแกล้งทำเป็นยังไม่ทิ้ง โดยเดินวนไปอีก 1 รอบ หากผู้ที่ถูกทิ้งผ้าไม่รู้ตัว "มอญ" จะหยิบผ้ามาตีหลังผู้เล่นคนนั้น แล้วต้องกลายเป็น "มอญ" แทน แต่หากผู้เล่นรู้ตัวว่ามีผ้าอยู่ข้างหลัง ก็จะหยิบผ้ามาวิ่งไล่ตี "มอญ" รอบวง "มอญ" ต้องรีบกลับมานั่งแทนที่ผู้เล่นคนนั้น แล้วผู้ที่วิ่งไล่ต้องเปลี่ยนเป็น "มอญ" แทน


 

เดินกะลา

           ดูจะเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่หาดูได้ไม่บ่อยนัก แต่หากเป็นสมัยก่อนจะเห็นเด็ก ๆ เดินกะลา กันทั่วไป โดยผู้เล่นจะต้องนำกะลามะพร้าว 2 อันมาทำความสะอาดแล้วเจาะรูตรงกลาง ร้อยเชือกให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้เชือกหลุดเวลาเดิน เวลาเดินให้ใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้คีบเชือกเอาไว้แล้วเดิน หากมีเด็ก ๆ หลายคนอาจจัดแข่ง เดินกะลา ได้ด้วยการกำหนดเส้นชัยไว้ใครเดินถึงก่อนก็เป็นผู้ชนะไป

           ประโยชน์ของการ เดินกะลา ก็คือช่วยฝึกการทรงตัว ความสมดุลของร่างกาย เพราะต้องระวังไม่ให้ตกกะลา ช่วงแรก ๆ อาจจะรู้สึกเจ็บเท้า แต่ถ้าฝึกบ่อย ๆ จะชินและหายเจ็บไปเอง แถมยังทำให้ร่างกายแข็งแรง เพลิดเพลินอีกด้วย



ม้าก้านกล้วย

           เป็นอีกหนึ่งการละเล่นที่แสดงถึงความมีภูมิปัญญาของคนไทยทีเดียว เพราะในสมัยก่อนแทบทุกบ้านจะปลูกต้นกล้วยไว้ทั้งนั้น ดังนั้น ต้นกล้วยจึงนำมาประยุกต์เป็นของเล่นให้เด็ก ๆ ได้อย่างดีทีเดียว โดยเฉพาะ ม้าก้านกล้วย ดูเหมือนจะถูกอกถูกใจเด็กชายวัยซนมากที่สุด เพราะเด็ก ๆ จะนำก้านกล้วยมาขี่เป็นม้า เพื่อแข่งขันกัน หรือทำเป็นดาบรบกันก็ได้

           วิธีทำม้าก้านกล้วย ก็ไม่ยาก เลือกตัดใบกล้วยออกมาแล้วเอามีดเลาะใบกล้วยออก แต่เหลือไว้ที่ปลายเล็กน้อยให้เป็นหางม้า เอามีดฝานแฉลบด้านข้างก้านกล้วยตรงโคนบาง ๆ เพื่อทำเป็นหูม้า แล้วหักก้านกล้วยตรงโคนหูม้าออก จากนั้นก็นำแขนงไม้ไผ่มาเสี้ยมปลายให้แหลม ความยาวประมาณคืบกว่า ๆ เสียบหัวม้าที่พับเอาไว้จนทะลุไปถึงก้าน เพื่อให้เป็นสายบังเหียนผูกปากกับคอม้านั่นเอง เสร็จแล้วก็นำเชือกกล้วยมาผูกด้านหัวม้าและหางม้า ทำเป็นสายสะพายบ่า แค่นี้ก็ได้ม้าก้านกล้วยไปสนุกกับเพื่อน ๆ แล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนะนำที่ท่องเที่ยวที่ Chaing Mai
"ดอยสุเทพป็นศรี  ประเพณีเป็นสง่า  บุปผาชาติล้วนงามตา  งามล้ำค่านครพิงค์"

สถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดังที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ก็คือ….ดอยสุเทพหรือวัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร
วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ
เดินทางตามถนนห้วยแก้วผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา ระหว่างทางจะมองเห็น ตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง ระยะทางจากเชิงดอยประมาณ 11 กม. เมื่อขึ้นมาถึงจะมองเห็นบันไดทอดยาวขึ้นไปสู่วัด และมีนาค 2 ตัว อยู่สองข้างบันไดซึ่งสูง 300 กว่าขั้น วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้ เป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวซึ่ง เดินทางไปเชียงใหม่ จะต้องขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุกันทุกคน ถ้าหากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว ถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่ วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้ ประดิษฐานอยู่บนดอยสุเทพ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3,051 ฟุตและและเป็นปูชนียสถานที่สำคัญคู่เมืองเชียงใหม่ จะมีงานประเพณี ีสรงน้ำพระบรมธาตุในวันเพ็ญวิสาขบูชาทุกปี


เป็นเมืองโบราณ ที่พญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ทรงโปรดให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๙ โดยโปรดฯให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน ใขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเวียง มีโบราณสถาน ปรากฏอยู่ประมาณ ๒๐ แห่ง ทั้งที่เป็น ซากโบราณสถาน และเป็นวัด ที่มีพระสงฆ์อยู่ ที่สำคัญได้แก่ วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดช้างค้ำ และ ซากเจดีย์ วัดกุมกาม วัดน้อย วัดปู่เตี้ย วัดกู่ขาว วัดอีก้าง ซึ่งรูปแบบทางศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมนั้นมีทั้งแบบรุ่นเก่า และสมัยเชียงใหม่รุ่งเรืองปะปนกันไป เวียงกุมกาม ตั้งอยู่ทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณ ๓-๔ กิโลเมตร ตามถนนเชียงใหม่-ลำพูน ด้านขวามือ ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ผั่งด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง

 และยังมีอื่นๆๆอีกหลายที่เช่น
1.สวนราชพฤกษ์
สวน เฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ และตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ทั้งหมด 417 ไร่ ห่างจากใจกลางเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 12 กิโลเมตร
2.สวนสัตว์เชียงใหม่ ที่อยู่ของหลินปิงและเพื่อนๆๆสัตว์อีกมากมาย
สวนสัตว์เชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นโดยนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง (Mr.Harold Mason Young) มิชชั่นนารีชาวอเมริกัน ผู้เข้ามาเป็นอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่พวกทหารและตำรวจชายแดน
แหล่งอ้างอิง

เมืองเชียงใหม่ มีชื่อที่ปรากฏในตำนานว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนามาตั้งแต่ เมื่อพญามังรายได้ทรงสร้างขึ้น พ.ศ. 1839 เชียงใหม่มีอายุครบ 700 ปี ในปี พ.ศ. 2539 เชียงใหม่ในอดีตมีฐานะเป็นนครรัฐอิสระ ปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 1839 - 2101) ต่อมาในปี พ.ศ. 2101 เชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนอง และตกอยู่ใต้อำนาจของพม่านานกว่าสองร้อยปี จนถึงสมัยพระเจ้าตากสินและพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสนับสนุนล้านนา โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้านทำสงครามขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่ และเมืองเชียงแสนสำเร็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าสถาปนาเจ้ากาวิละขึ้นเป็น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ พระเจ้าเชียงใหม่ ปกครอง 57 หัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราชของสยาม โดยพระญาติและเชื้อสายของ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ซึ่งรวมเรียกว่า ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) ได้ปกครองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และหัวเมืองใหญ่น้อยสืบต่อมา จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราชได้ยกเลิก การมีเมืองประเทศราชในภาคเหนือ จัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพ และเมื่อปี พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ปรับปรุงการปกครองเป็นแบบจังหวัดปัจจุบัน มีผู้ว่าราชการเป็นบริหาร เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบัน (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)


จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาและเขาสูง มีที่ราบบริเวณสองฝั่งแม่น้ำปิง สภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดปี ส่วนฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น บนดอยสูงหนาวจัดจนมีปรากฏการณ์น้ำค้างแข็ง เป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวที่ได้ไปสัมผัส เชียงใหม่เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชเมืองหนาวที่สำคัญของไทย และยังเป็นแหล่งไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงามอีกด้วย

จังหวัดเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของจังหวัดภาคเหนือตอนบน เป็นเมืองที่เปรียบประดุจดังกุหลาบงามของแผ่นดินล้านนาไทย เป็นเมืองที่นับว่าเป็นที่สองรองจากกรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางด้านการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว ความงามตามธรรมชาติ ศิลปกรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมแบบล้านนาไทย ตลอดจนน้ำใจไมตรีของชาวเชียงใหม่ เป็นที่ดึงดูดและประทับใจผู้มาเยือนที่ยากจะลืมเลือน ธุรกิจการท่องเที่ยวทำรายได้ให้เชียงใหม่ถึงปีละไม่น้อยกว่าเก้าพันล้านบาท ลักษณะเด่นของเชียงใหม่สรุปได้ตามคำขวัญของจังหวัดเชียงใหม่ที่ว่า "ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์



กิจกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่
เชียงใหม่ มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชม มีโบราณสถานที่บอกเล่าถึงประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีวัดวาอารามที่สวยงามมีศิลปเฉพาะที่ทรงคุณค่า และยังมีกิจกรรมท่องเที่ยวอีกมากมายไว้ต้อนรับผู้มาเยือน
ล่องแก่งแม่น้ำแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ทัวร์ล่องแก่งด้วยเรือยางมีมานานแล้วในภาคเหนือ มีการทำเป็นธุรกิจครั้งแรก เมื่อกว่า 15 ปีมาแล้วโดยการล่องในแม่น้ำปายซึ่งมีทิวทัศน์ที่สวยงามมาก สำหรับจังหวัดเชียงใหม่เริ่มมีการล่องแก่งเมื่อประมาณ 10 ปีมานี้เอง โดยเป็นโปรแกรมของบริษัทต่างประเทศ แต่ก็เป็นการล่องระยะสั้น เพียงไม่เกิน 40 นาทีเท่านั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมแก่การล่องแก่งตั้งแต่เดือน กรกฎาคม-สิงหาคม
เรือหางแมงป่องล่องแม่ปิง เชียงใหม่ ดื่มด่ำบรรยากาศและวิวทิวทัศน์สายน้ำปิงกับเรือหางแมงป่อง พร้อมกับการบรรยายเรื่องราวในอดีตทั้งสองฝั่งแม่น้ำปิงและประวัติศาสตร์ล้านนา โดยพิธีกรประจำเรือที่ได้ศึกษาด้านนี้มา และจอดแวะพักอิริยาบถที่ บ้านเรือหางแมงป่อง ชมป่าใจกลางเมืองเชียงใหม่
ล่องออบหลวง จ.เชียงใหม่
ลำน้ำแม่แจ่มมีต้นกำเนิดจากเทือกดอยอินทนนท์ลงมาทางอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ไหลผ่านเข้าสู่อุทยานแห่งชาติออบหลวง ออบเป็นภาษาเหนือแปลว่าช่องแคบที่มีน้ำไหลผ่าน ด้วยช่องผาแคบ ๆ บริเวณนี้เองที่เรียกว่า ออบหลวง
ล่องแพแม่แตง แม่แจ่ม แม่กก จ.เชียงใหม่
กิจกรรมที่กำลังได้รับความนิยมมากเนื่องจากลำน้ำแม่แตงไหลคดเคี้ยวไปตามหุบเขา ด้วยกระแสน้ำที่ไม่เชี่ยวจนเกินไป
การปีนหน้าผาในจังหวัดเชียงใหม่
เป็นหน้าผาจำลองที่มีความสูงที่สุดแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย รวมทั้งในภาคพื้นเอเซียแปซิฟิค ที่ได้มาตรฐานจากต่างประเทศ การเดินทางสะดวกเพราะตั้งอยู่ใจกลางเมือง


แหล่งดูนก บนดอยผ้าห่มปก เชียงใหม่
อยู่ห่างจากดอยอ่างขางไปไม่ไกลนัก มีความสูงเป็นที่สองรองจากดอยอินทนนท์ คือสูง 2,285 เมตร เป็นยอด เขาที่มีนกสำคัญ ๆ หลายชนิดที่เคยพบ หรือพบได้เฉพาะที่ดอยแห่งนี้เท่านั้น
แหล่งดูนก บนดอยอ่างขาง
ตามหุบห้วยในที่ชัน ๆ และตามป่าหญ้า ป่าละเมาะ มีนกที่น่าสนใจหลายชนิด เช่น นอก ปากนกแก้วอกลาย Spot-breasted Parrotbill) นกกะรางอกลาย (Spot-breasted Laughingthrush) นกหัวขวานอกแดง Crimson-breasted Woodpecker) นกกระทาป่าไผ่ (Mountain Bamboo-Partridge) นกปรอด หงอนปากหนา (Created Finchbill)
แหล่งดูนก ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวงเชียงดาว เชียงใหม่
สภาพป่าของดอยเชียงดาวเป็นป่าเบญจพรรณในพื้นล่าง มีป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ ป่าสนผสม ป่าเต็งรัง และป่าดิบ เขา ส่วนใหญ่จะขึ้นไปดูนกในป่าสนและป่าดิบเขา ซึ่งมีหน่วยพิทักษ์ป่า เด่นหญ้าขัด การดูนกดูได้ตลอดเส้นทางที่ขึ้น ไปสู่หน่วยเด่นหญ้าขัด
แหล่งดูนก ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เชียงใหม่
โดยเริ่มต้นจากกลุ่มผู้สนใจชาวต่างประเทศที่ เดินทางมาดูนกในประเทศไทย เนื่องจากความหลากหลายของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นทุ่งนา ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร ชายฝั่งทะเล ห้วย หนอง คลอง บึง ล้วนเป็นที่อาศัยของนกมากมายหลายชนิด โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ง ในเมืองไทยของเรา
จักรยานเสือภูเขาจังหวัดเชียงใหม่
เป็นกิจกรรมที่ทำได้ทั้งในเมืองและนอกเมือง ได้ทั้งความสุนทรียภาพและสุขภาพที่แข็งแรง เส้นทางมีหลายแห่งให้เลือกทั้งในเมืองและนอกเมือง

ประชาสัมพันธ์เมื่อ 28 สิงหาคม 2554 16:30 น.
ดอยแม่สลอง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านสันติคิรี เดิมชื่อบ้านแม่สลองนอก เป็นชุมชนผู้อพยพจากกองพล 93 ซึ่งอพยพจากประเทศพม่าเข้ามาในเขตไทย จำนวนสองกองพันคือ กองพันที่ 3 เข้ามาอยู่ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่



ประชาสัมพันธ์เมื่อ 28 สิงหาคม 2554 14:37 น.
วัดอุโมงค์(อุโมงค์เถรจันทร์) เป็นชื่อเรียกวัดเก่าที่ "พระเจ้ากือนาธรรมิกราช" ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นเพื่อถวายเพื่อให้พระมหาเถรจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฏกอาศัย
ประชาสัมพันธ์เมื่อ 26 สิงหาคม 2554 10:26 น.
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งรายพระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่

ประชาสัมพันธ์เมื่อ 11 สิงหาคม 2554 13:05 น.
ถ้าเอ่ยถึง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ หลาย ๆ คนคงนึกถึงภาพ ยอดดอยอินทนนท์ น้ำตกแม่ยะ กิ่วแม่ปาน น้ำตกผาดอกเสี้ยว น้ำตกสิริภูมิ และ สถานีวิจัยเกษตรหลวงอินทนนท์ เป็นต้น
หัวข้อริวิว พาเที่ยว สถานที่เชียงใหม่